ระหว่างที่เรานอนหลับนั้น จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ขจัดของเสียออกจากเซลล์ มีการสร้างโปรตีนใหม่ๆ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีการหลั่งฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายคือโกรทฮอร์โมน ธัยรอยด์ฮอร์โมนและเมลาโทนิน เราควรหลับอย่างมีคุณภาพให้ได้อย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน
การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมได้เช่น ความก้าวร้าว ซึมเศร้า การนอนน้อยมีผลต่อความจำ มีการวิจัยพบว่าการนอนน้อยอาจนำไปสู่โรคอ้วนได้ พบว่าในเด็กมัธยมที่นอนน้อยจะกินบ่อยและกินจุบกินจิบกว่าในเด็กที่ได้นอนเต็มอิ่ม เพราะการนอนน้อยทำให้ระดับฮอร์โมนที่ชื่อเลปตินลดลง ซึ่งเลปตินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากรับประทานอาหาร โดยเป็นตัวส่งสัญญาณไปยังสมองว่าอิ่มแล้ว ผู้ที่นอนไม่หลับก็พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับเพราะทำให้สมองเสื่อมได้ ลองใช้วิธีต่างๆ เหล่านี้ดูนะคะ เช่น การออกไปรับแสงแดดยามเช้าสัก 30 นาทีทุกวัน การปรับแสงในห้องนอนให้มืดเพราะจะทำให้ฮอร์โมนที่ชื่อเมลาโทนินหลั่งออกมา ทำให้รู้สึกอยากนอน ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้เย็นหน่อย อย่าให้มีเสียงรบกวนในห้องนอน หลีกเลี่ยงเรื่องเครียดก่อนนอน งดเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือให้ปิดเสียหรืออย่าวางไว้ใกล้ตัว รวมทั้งอย่ารับประทานอาหารใกล้เวลานอนเพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อยและทำให้ท้องอืด รบกวนการนอน
ข้อมูลจาก แพทย์หญิง ขวัญทิชา วงศ์วิชิตกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น